ผู้เขียน หัวข้อ: ซ่อมบำรุงอาคาร: ข้อควรรู้! วิธีเลือกใช้ ‘ปลั๊กแปลงขา’ อย่างเหมาะสมเพื่อความปลอดภ  (อ่าน 126 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 522
    • ดูรายละเอียด
‘ปลั๊กแปลงขา’ หนึ่งในอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้เมื่อต้องเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าเข้ากับเต้ารับของประเทศนั้น ๆ เนื่องจากในแต่ละประเทศมีการใช้ปลั๊กไฟในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในปัจจุบันปลั๊กแปลงขายังไม่มีมาตรฐาน มอก. มารองรับเหมือนกับปลั๊กพ่วง จึงทำให้หลายคนอาจรู้สึกกังวลที่จะเลือกซื้อมาใช้งาน วันนี้จึงจะพาไปดูกันว่า… ควรเลือกซื้อปลั๊กแปลงขาอย่างไรจึงจะปลอดภัยต่อการใช้งาน


ทริกเลือกปลั๊กแปลงขาให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัย

1. ชนิดของหัวปลั๊กแปลงขา

ปลั๊กแปลงขาสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ปลั๊กแปลงขาหัวเดียว สำหรับการใช้งานแปลงขาปลั๊กรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งโดยเฉพาะ หรือแปลงขาปลั๊กเป็นกลมหรือแบนเพื่อใช้งานในประเทศ อีกหนึ่งประเภทคือปลั๊กแปลงขาแบบชุดหลายหัว หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อ ‘International Adapter’ เป็นปลั๊กแปลงขาที่รวบรวมปลั๊กไฟหลากหลายรูปแบบ เหมาะสำหรับผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศ

ทั้งนี้ ก่อนเลือกซื้อปลั๊กแปลงขาแบบชุดหลายหัว เพื่อนำไปใช้งานในต่างประเทศ ผู้ใช้ควรศึกษาชนิดเต้ารับและเต้าเสียบของประเทศนั้น ๆ ให้ดี จากข้อมูลของคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานสาขาอิเล็กทรอนิกส์ (International Electrotechnical Commission) หรือ IEC ได้แบ่งประเภทของเต้ารับและเต้าเสียบออกเป็น 15 ประเภท ตามลักษณะของขาปลั๊ก โดยมีชื่อเรียกตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ ดังนี้

ปลั๊ก 15 ประเภท

    Type A หรือแบบ 2 ขาแบน ใช้สำหรับประเทศไทย, ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา, จีน, แคนาดา, กัมพูชา, กวม, ไซปัน, เกาหลีใต้, ไต้หวัน, ฟิลิปปินส์, บราซิล, เม็กซิโก เป็นต้น
    Type B หรือแบบ 2 ขาแบน 1 ขากลม ใช้สำหรับประเทศไทย, ญี่ปุ่น, จีน, ประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ เป็นต้น
    Type C หรือแบบ 2 ขากลม ใช้สำหรับประเทศไทย, อาร์เจนตินา, ไอร์แลนด์, อิตาลี, ออสเตรีย, สวิตเซอร์แลนด์, สเปน, เกาหลีใต้ เป็นต้น
    Type D หรือแบบ 3 ขากลม ใช้สำหรับประเทศจีน, อินเดีย, อินโดนีเซีย, เคนยา, เนปาล, แอฟริกาใต้ เป็นต้น
    Type E หรือแบบเต้าเสียบ 2 ขากลม เต้ารับ 1 ขากลม พร้อมกับคลิปกราวด์ 1 ด้าน ใช้สำหรับประเทศอินโดนีเซีย, ออสเตรีย, เยอรมนี, สวีเดน, เบลเยียม, ฝรั่งเศส เป็นต้น
    Type F หรือแบบเต้าเสียบ 2 ขากลม พร้อมกับคลิปกราวด์ 2 ด้าน เป็นปลั๊กที่มีความใกล้เคียงกับ Type E ส่วนมากจึงสามารถใช้ร่วมกับเต้าเสียบเดียวกันได้ ปลั๊กชนิดนี้ใช้สำหรับประเทศออสเตรีย, อียิปต์, ฟินแลนด์, เยอรมนี, กรีซ, อิตาลี, เนเธอร์แลนด์, สเปน เป็นต้น
    Type G หรือแบบ 2 ขาแบนแนวนอน 1 ขาแบนแนวตั้ง ใช้สำหรับประเทศอาร์เจนตินา, อินเดีย, สิงคโปร์, ฮ่องกง, จีน, มาเลเซีย, สหราชอาณาจักร เป็นต้น
    Type H หรือแบบ 3 ขาแบนเรียงเป็นสามเหลี่ยม ใช้งานแค่ในประเทศอิสราเอลท่านั้น แต่ปัจจุบันการใช้งานปลั๊กชนิดนี้กำลังลดลงเรื่อย ๆ เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนไปใช้ปลั๊กชนิดอื่นแทน
    Type I หรือแบบ 2 ขาแบนเรียงเป็นรูปตัว V และ 1 ขาแบนแนวตั้ง ใช้สำหรับประเทศจีน, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, อาร์เจนตินา, ปาปัวนิวกินี เป็นต้น
    Type J หรือแบบ 3 ขากลม เนื่องจากเต้ารับชนิดนี้มีระยะห่างของปลั๊กขากลม 2 ขาเท่ากับ Type C จึงสามารถนำปลั๊กเต้าเสียบ Type C มาใช้กับเต้ารับ Type J ได้ ปลั๊กชนิดนี้ใช้สำหรับประเทศจอร์แดน, สวิตเซอร์แลนด์, มาดากัสการ์ เป็นต้น
    Type K หรือแบบ 2 ขากลม 1 ขาครึ่งวงกลม มีลักษณะคล้ายหน้ายิ้ม และเต้ารับของปลั๊กชนิดนี้ก็สามารถใช้กับเต้าเสียบ Type C ได้เช่นกัน ปลั๊ก Type K ใช้สำหรับประเทศ เดนมาร์ก, กรีนแลนด์, บังกลาเทศ เป็นต้น
    Type L หรือแบบ 3 ขากลมเรียงเป็นเส้นตรง ใช้สำหรับประเทศอิตาลี, ชิลี, อุรุกวัย เป็นต้น
    Type M หรือแบบ 3 ขากลม แต่ขากราวด์จะมีขนาดใหญ่เป็นพิเศษ ใช้สำหรับประเทศอินเดีย, คูเวต, มาเลเซีย, สิงคโปร์, แอฟริกาใต้ เป็นต้น
    Type N หรือแบบ 3 ขากลมที่มีความใกล้เคียงกับปลั๊ก Type J แต่ระยะห่างของขากราวด์กับขาหลักของปลั๊ก Type N จะน้อยกว่าเล็กน้อย โดยปลั๊กชนิดนี้จะใช้ในประเทศบราซิลเป็นหลัก
    Type O หรือแบบ 3 ขากลม มีการใช้งานเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น และได้รับการรับรองมาตรฐาน มอก. 166-2549


2. คุณภาพของวัสดุ

การซื้อปลั๊กแปลงขาควรเลือกที่ผลิตด้วยวัสดุที่มีคุณภาพสูงอย่าง พลาสติก ABS หรือโพลีคาร์บอเนต (PC) ซึ่งมีความทนทานต่อความร้อนและแรงกระแทกสูงกว่าพลาสติก PVC รวมถึงมีคุณสมบัติไม่ลามไฟ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเพลิงไหม้หรือไฟฟ้าลัดวงจรจากความร้อนขณะใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะการใช้ร่วมกับกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมาก เช่น หม้อทอด เตาไฟฟ้า หม้ออบลมร้อน เป็นต้น


3. ขาเต้ารับ

ชิ้นส่วนภายในวงจรของปลั๊กแปลงขาอย่าง ‘ขาเต้ารับ’ ควรผลิตจากทองเหลืองหรือทองแดง เนื่องจากนำไฟฟ้าได้ดีกว่าโลหะชนิดอื่น ทำให้ไม่เกิดความร้อนสะสม จึงช่วยลดปัญหาปลั๊กละลายหรือไหม้ ซึ่งเป็นสาเหตุของไฟฟ้าลัดวงจรได้


4. หัวปลั๊กขากลม VS ขาแบน

สำหรับการใช้งานปลั๊กแปลงขาในประเทศไทย หลายคนอาจมองข้ามการเลือกขาปลั๊ก เนื่องจากคิดว่าแค่เสียบปลั๊กและใช้งานได้เพียงพอ แต่การเสียบปลั๊กกับเต้ารับไม่แน่น อาจทำให้เกิดความร้อนได้ และไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ ดังนั้นจึงขอแนะนำให้เลือกปลั๊กแปลงขาแบบขากลม เนื่องจากจะเสียบกับเต้ารับได้แน่นกว่า รวมถึงควรเลือกปลั๊กแปลงขาที่มีฉนวนหุ้มบริเวณขาปลั๊กเพื่อป้องกันไฟรั่วขณะสัมผัสโดยตรง


5. กำลังไฟที่ระบุบนหัวปลั๊กแปลงขา

ก่อนซื้อปลั๊กแปลงขาควรสังเกตการรองรับแรงดันไฟที่ระบุอยู่บนหัวปลั๊ก เพื่อป้องกันการเกิดความร้อนจากการใช้ไฟเกินขนาด เช่น 10A 250V หมายถึง สามารถรองรับกระแสไฟได้สูงสุด 10 แอมป์ และแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 250 โวลต์ นอกจากนี้เพื่อความปลอดภัยอาจเลือกใช้ปลั๊กแปลงขาที่มีระบบฟิวส์ตัดไฟในกรณีที่มีการใช้กระแสไฟฟ้ามากเกินไป หรือแบบมีสวิตช์เปิด-ปิด เพื่อป้องกันไฟกระชากขณะถอดปลั๊ก


6. เลือกใช้ปลั๊กแปลงขาที่มีม่านนิรภัย ในกรณีที่ในบ้านมีเด็ก

หากที่บ้านมีเด็กเล็กควรเลือกใช้ปลั๊กแปลงขาที่มีม่านนิรภัย หรือ Safety Shutter ที่มีลักษณะเป็นแผ่นพลาสติกกั้นเพื่อป้องกันไฟช็อตหรือไฟดูดจากการเอานิ้วแหย่ไปในรู นอกจากนี้ม่านนิรภัยยังช่วยให้ปลั๊กแน่นขึ้นได้อีกด้วย


ซ่อมบำรุงอาคาร: ข้อควรรู้! วิธีเลือกใช้ ‘ปลั๊กแปลงขา’ อย่างเหมาะสมเพื่อความปลอดภัยต่อการใช้งาน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/technical-services/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 ธันวาคม 2023, 19:50:57 pm โดย siritidaphon »

 

ลงประกาศฟรี โฆษณาฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถ สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทสินค้าฟรี เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google