ผู้เขียน หัวข้อ: บริหารจัดการอาคาร: การตรวจสอบถังดับเพลิง เรื่องที่ไม่ควรมองข้าม  (อ่าน 144 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 419
    • ดูรายละเอียด
ถังดับเพลิง เป็นสิ่งที่ทุกคนควรเรียนรู้วิธีการใช้งาน เพราะเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าเราจะเผชิญหน้ากับเหตุเพลิงไหม้เมื่อใด หากเกิดเหตุเพลิงไหม้สิ่งที่สำคัญรองลงมาจากการตั้งสติคือการหาอุปกรณ์มาดับเพลิง ถ้าคุณลองสังเกตดูดี ๆ หลาย ๆ พื้นที่จะมีการติดตั้งถังดับเพลิงที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพื่อที่จะได้ควบคุมเพลิงทันเวลาก่อนที่จะลุกลามสร้างความเสียหายและก่ออันตรายแก่ผู้อื่น ถึงแม้ว่าถังดับเพลิงจะเป็นอุปกรณ์ที่สามารถช่วยดับไฟได้เป็นอย่างดี แต่ตัวถังดับเพลิงเองก็ต้องการการดูแลและหมั่นคอยตรวจเช็กถังดับเพลิงว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอไหมเช่นกัน


ทำไมเราต้องคอยตรวจเช็คถังดับเพลิง

เหตุไฟไหม้ถือว่าเป็นภัยอันตรายที่ใกล้ตัวมาก เพราะเพลิงไหม้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา คุณควรที่จะเตรียมรับมือกับสถานการณ์ไฟไหม้อยู่เสมอ คุณรู้หรือไม่ว่าข่าวเหตุเพลิงไหม้ลุกลามจากจุดเล็ก ๆ ขยายเป็นวงกว้างได้ก็เพราะว่าผู้คนละเลยการใช้ถังดับเพลิง หลาย ๆ คนถูกสอนมาว่าหากเกิดเหตุไฟไหม้ให้ระงับเหตุด้วยการใช้น้ำ ซึ่งทฤษฎีนี้ไม่ผิด แต่กับบางสถานการณ์เพลิงไหม้ คุณจำเป็นต้องใช้ถังดับเพลิงในการระงับเหตุ เพราะภายในถังดับเพลิงจะถูกบรรจุไปด้วยสารเคมีที่สามารถระงับเพลิงไหม้ได้อย่างทันทีและสามารถระงับเหตุเพลิงไหม้ได้ทุกประเภท แต่ถังดับเพลิงทุกรุ่นจะมีเงื่อนไขการใช้งานและวิธีตรวจสอบถังดับเพลิงให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

การตรวจสอบถังดับเพลิง ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ติดตั้งต้องคอยเช็คสภาพว่าพร้อมใช้งานไหม เพราะมีหลายเหตุเพลิงไหม้ที่ผู้ติดตั้งไม่เคยเช็กความพร้อมในการใช้งานของถังดับเพลิง ทำให้เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ ตัวถังดับเพลิงไม่สามารถใช้งานได้ ฉีดไม่ออกหรืออุปกรณ์ชำรุด ดังนั้นวันนี้เราจะมาบอก 5 วิธีการตรวจสอบถังดับเพลิงเบื่องต้นเพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของท่านหากเกิดเหตุเพลิงไหม้

    ตรวจสอบมาตรวัดแรงดันหรือเกจ์วัดแรงดัน (Pressure Gauge) หากถังดับเพลิงพร้อมใช้งานเข็มเกจ์จะต้องอยู่ที่ช่องสีเขียว หากเข็มตกไปอยู่ในช่อง Recharge หรือช่อง Overcharge แสดงว่าอุปกรณ์ถังดับเพลิงไม่สามารถใช้งานได้
    สลักและซีล (Pull Pin and Temper Seal) หากสลักและซีลถูกล็อกอยู่กับคันบีบ แสดงว่าถังดับเพลิงยังไม่ได้ถูกเปิดใช้งาน ซึ่งหมายความว่าสารเคมีที่อยู่ในถังดับเพลิงยังไม่หมด
    คันบีบ (Handle) คันบีบจะต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่บุบ ไม่งอ และไม่หัก หากคันบีบชำรุจหรืออยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมใช้งาน ตัวคันบีบจะไม่สามารถกดเพื่อนำสารเคมีออกมาดับไฟได้
    สายฉีด (Hose) จะต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ไม่ฉีกขาด ไม่แตก และไม่แข็ง เพื่อไม่ให้เกิดการรั่วซึมเมื่อนำถังดับเพลิงออกมาใช้งาน
    ตัวถังดับเพลิง (Fire Extinguisher) จะต้องไม่บุบ ไม่รั่ว และไม่เป็นสนิม เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของตัวถังและป้องกันการรั่วไหลของสารเคมีภายในถัง


วิธีตรวจถังดับเพลิงประเภทต่างๆ

โดยทั่วไปแล้วถังดับเพลิงจะมีด้วยกันหลัก ๆ อยู่ 2 ประเภทคือ ถังดับเพลิงประเภทก๊าซ (CO2) และถังดับเพลิงประเภทเคมีแห้ง (Dry chemical) ถังดับเพลิงแต่ละประเภทจะมีวิธีตรวจถังดับเพลิงเพื่อเช็กความพร้อมในการใช้งานแตกต่างกัน ซึ่งบทความนี้เราจะมาบอกวิธีในการตรวจสอบถังดับเพลิงทั้ง 2 ประเภท เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลละตรวจสอบความพร้อมของถังดับเพลิง


วิธีตรวจถังดับเพลิงประเภท CO2

ขั้นตอนในการตรวจสอบถังดับเพลิง ประเภทก๊าซ (CO2) จะมีทั้งหมด 4 ขั้นตอน ดังนี้

1.    ตรวจสอบสายฉีดและหัวฉีดอยู่เป็นประจำ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ไม่เสียหายหรือชำรุจ เช่น รอยแตก รอยรั่ว หรือการฉีกขาด เพราะภายในถังดับเพลิงประเภทก๊าซ (CO2) จะมีแรงดันก๊าซที่สูงมาก(High Pressure) อาจเกิดการรั่วซึมได้

2.    ตรวจสอบปริมาณก๊าซภายในถังทุก ๆ 6 เดือนโดยการชั่งน้ำหนักตัวถัง หากน้ำหนักถังลดลงจากค่าน้ำหนักมาตรฐานตอนติดตั้งใหม่ ๆ แสดงว่าถังดับเพลิงเครื่องนี้ถูกใช้งานไปแล้ว หรืออาจจะมีการรั่วไหลของก๊าซภายในตัวถัง แนะนำให้นำถังดับเพลิงไปเช็กสภาพและเติมก๊าซเข้าไปใหม่

3.    ตรวจคุณภาพก๊าซภายในถังและเช็กสภาพการชำรุดของถังทุก ๆ 5 ปี ถ้าหากตัวถังตกจากที่สูงหรือมีการใช้งานไปแล้ว ให้คุณส่งถังดับเพลิงไปตรวจสอบสภาพการใช้งาน Hydro Static และเติมก๊าซเข้าถังดับเพลิงใหม่

4.    ตรวจอายุการใช้งานของถังดับเพลิง ถังดับเพลิงประเภทก๊าซ (CO2) ถ้ายังไม่เคยมีการเปิดใช้ถังดับเพลิงหรือตัวถังดับเพลิงยังไม่ขึ้นสนิม อายุการใช้งานจะอยู่ที่ 10 ปีขึ้นไป


วิธีตรวจถังดับเพลิงประเภท Dry chemical

ขั้นตอนในการตรวจสอบถังดับเพลิง ประเภทเคมีแห้ง (Dry chemical) จะมีทั้งหมด 7 ขั้นตอน ดังนี้

-    คุณจะต้องตรวจสลักและซีล (Pull Pin and Temper Seal) ที่คล้องอยู่กับถังดับเพลิงว่ายังล็อกดีอยู่หรือไม่ ถ้าหากสลักและซีลยังล็อกดีอยู่ นั้นหมายความว่าถังดับเพลิงเครื่องนี้ยังไม่ได้ถูกเปิดใช้งาน
-    ตรวจสอบมาตรวัดแรงดันหรือเกจ์วัดแรงดัน (Pressure Gauge) เข็มเกจ์จะต้องอยู่ที่ช่องสีเขียว ซึ่งนั่นหมายความว่าถังดับเพลิงเครื่องนี้พร้อมใช้งาน แต่ถ้าเข็มเกจ์อยู่ที่ช่อง Recharge หรือช่อง Overcharge นั่นหมายความว่าถังดับเพลิงเครื่องนี้ไม่พร้อมใช้งาน
-    ตรวจสอบสายฉีด (Hose) เป็นประจำว่าไม่มีการฉีกขาด สายไม่แตก และไม่มีสิ่งอุดตันภายในสาย เพราะถ้าสายฉีดเกิดการชำรุจ เมื่อใช้งานตัวสารเคมีจะรั่วไหลออกตามซอกสายฉีด
-    ตรวจสอบคันบีบ (Handle) จะต้องไม่หักและไม่งอ เพราะถ้าคันบีบชำรุด จะไม่สามารถกดเพื่อนำสารเคมีออกมาดับเพลิงไหม้ได้
-    ตรวจสอบตัวถังดับเพลิง (Fire Extinguisher) จะต้องอยู่ในสภาพดีถังไม่บุบ ไม่บวม ไม่รั่ว และไม่ขึ้นสนิม เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสารเคมีที่อยู่ภายในถังจะไม่รั่วซึมออกมาจนหมด
-    ตรวจสอบความหนาแน่นของสารเคมีภายในตัวถังดับเพลิงโดยการคว่ำถังดับเพลิง เพื่อลดการแข็งตัวของสารเคมีให้คงสภาพเหลวพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
-    ตรวจสอบอายุการใช้งานของถังดับเพลิง ตามที่กฎหมายด้านความปลอดภัยในการใช้ถังเพลิงกำหนด ผู้ติดตั้งถังดับเพลิงจะต้องเปลี่ยนถ่ายสารเคมีทุก ๆ 5 ปี


ตรวจสอบแรงดันภายในถังดับเพลิง

การตรวจเช็คค่าแรงดันภายในถังดับเพลิงจะมีด้วยกันอยู่ 3 ขั้นตอน ดังนี้

    หากแรงดันภายในถังดับเพลิงอยู่ในเกณฑ์ปกติพร้อมใช้งาน ค่าแรงดันภายในตัวถังจะต้องอยู่ที่ 195psi (เข็มเกจ์จะต้องเป็นแนว 90ºC) หรือเข็มเกจ์อยู่ที่ช่องสีเขียว
    หากแรงดันภายในถังดับเพลิงอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่า 195psi หรือเข็มเกจ์ชี้ไปทางด้านซ้าย (Recharge) นั่นหมายความว่าภายในตัวเครื่องมีแรงดันต่ำและอยู่ในสภาพไม่พร้อมใช้งาน ดังนั้นควรผู้ติดตั้งควรทำตัวถังไปเช็กแรงดันและเติมก๊าซ
    หากแรงดันภายในถังดับเพลิงอยู่ในเกณฑ์ที่มากกว่า 195psi หรือเข็มเกจ์ชี้ไปทางด้านขวา (Overcharge) นั่นหมายความว่าภายในตัวเครื่องมีค่าแรงดันที่สูงผิดปกติ ควรรีบนำถังดับเพลิงไปเช็กสภาพ เพราะถ้าหากปล่อยทิ้งไว้ถังดับเพลิงอาจจะระเบิดหรือก่อให้เกิดอันตรายได้


พื้นที่บริเวณติดตั้งถังดับเพลิง

เลือกพื้นที่ติดตั้งถังดับเพลิงอย่างไรให้ปลอดภัยและพร้อมใช้งาน มี 4 ข้อด้วยกันดังนี้

    หลีกเลี่ยงการติดตั้งถังดับเพลิงไว้ในบริเวณที่มีแหล่งกำเนิดอุณหภูมิความร้อนสูง หรือบริเวณที่มีความชื้นสูง เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวถังและการรั่วซึมของสารเคมีภายในถังได้
    หลีกเลี่ยงการติดตั้งถังดับเพลิงในระยะประชิดกัน 2 ถังขึ้นไป ระยะห่างของถังดับเพลิงที่ควรติดตั้งจะอยู่ที่ 20 เมตร ส่วนความสูงจากพื้นสู่ด้านจับถังควรอยู่ที่ 1.50 เมตร
    ควรติดป้ายระบุตำแหน่งที่ตั้งของถังดับเพลิงในบริเวณที่สังเกตง่ายและตัวหนังสือเด่นชัด
    บริเวณที่ติดตั้งถังดับเพลิงจะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางทั้งด้านหน้าและด้านข้างตัวถัง เพื่อให้ง่ายต่อการนำมาใช้ ตัวถังดับเพลิงจะต้องตั้งอยู่อย่างโดดเด่นในพื้นที่โล่ง เพราะถ้าหากเกิดเหตุเพลิงไหม้จะได้เห็นชัดว่าถังดับเพลิงถูกติดตั้งที่บริเวณใด



บริหารจัดการอาคาร: การตรวจสอบถังดับเพลิง เรื่องที่ไม่ควรมองข้าม พร้อมใช้เมื่อเกิดเหตุ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/technical-services/

 

ลงประกาศฟรี โฆษณาฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถ สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทสินค้าฟรี เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google