โรคปอดอักเสบ (pneumonia) หรือที่เรียกกันว่า ปอดบวม คือการอักเสบที่เกิดขึ้นบริเวณเนื้อปอด ถุงลม และเนื้อเยื่อข้างเคียง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อซึ่งเป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อย
สาเหตุของปอดอักเสบติดเชื้อเกิดได้ทั้งจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส มักพบได้บ่อยในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภาวะภูมิต้านทานต่ำ ซึ่งบางครั้งปอดอักเสบติดเชื้อรุนแรงอาจนำไปสู่ภาวะการหายใจล้มเหลว จนกระทั้งเสียชีวิตได้
เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคปอดบวมที่สามารถป้องกันได้คือ เชื้อนิวโมคอคคัส (Streptococcus pneumoiae) ส่วนใหญ่จะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอของคน สามารถแพร่กระจายผ่านทางละอองการไอและจาม
เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคปอดบวมที่สามารถป้องกันได้คือ เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (influenza virus)
โรคไข้หวัดใหญ่และโรคปอดบวมจากเชื้อนิวโมคอคคัสเกี่ยวข้องกันอย่างไร
ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่อาจมีภาวะแทรกซ้อนเกิดปอดอักเสบติดเชื้อได้ เช่นเดียวกับโรคปอดบวมจากเชื้อนิวโมคอคคัส แต่การติดเชื้อนิวโมคอคคัสสามารถเกิดภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมด้วยได้ปอดอักเสบ ซึ่งการติดเชื้ออาจรุนแรงจนทำให้ระบบหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้
จึงมีคำแนะนำให้ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุควรได้รับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคนิวโมคอคคัส เช่นเดียวกับโรคไข้หวัดใหญ่
อาการของโรคปอดบวม มีอะไรบ้าง
มีไข้
ไอมีเสมหะ
หนาวสั่น
เจ็บหน้าอกขณะหายใจหรือไอ
หายใจลำบาก
ใครบ้างมีความเสี่ยงในการติดโรคปอดบวมจากเชื้อนิวโมคอคคัส
ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี
ผู้ที่มีโรคประจำตัว เรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ, โรคปอด, โรคไต, โรคเบาหวาน, โรคตับ
ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่นผู้ที่ ติดเชื้อไวรัส HIV, โรคมะเร็ง
ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ
ผู้ที่ถูกตัดม้าม
การป้องกันโรคปอดบวม
ล้างมือให้สะอาด หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ที่มีความเข้มข้นไม่ต่ำกว่า 60 %
สวมหน้ากากอนามัาม
หลีกเลี่ยงชุมชนแออัด
ฉีดวัคซีนป้องกัน เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคปอดบวม
วัคซีนป้องกันโรคปอดบวมจากเชื้อนิวโมคอคคัส
ในปัจจุบันมี 2 ชนิด เราฉีดวัคซีนเพื่อลดความรุนแรง และภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น เช่นการติดเชื้อในกระแสเลือด
วัคซีนนิวโมคอคคัสแบบคอนจูเกต (PCV13) ซึ่งครอบคลุมเชื้อนิวโมคอคคัส 13 สายพันธุ์
วัคซีนนิวโมคอคคัสแบบโพลีแซคคาไรด์ (PPSV23) ซึ่งครอบคลุมเชื้อนิวโมคอคคัส 23 สายพันธุ์
การเสริมภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการติดเชื้อจึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ เสมือนการสร้างเกราะป้องกันให้กับร่างกาย แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันในบุคคลที่มีความเสี่ยงทุกคน
รู้ทัน…ป้องกันโรคปอดอักเสบ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions/151