กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10
81
อสังหา / Re: รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ สาระนิพนธ์ IS
« กระทู้ล่าสุด โดย Ayakimez เมื่อ 12 กันยายน 2024, 08:52:07 am »
จ้างทําวิจัยราคาถูก, จ้างทำวิจัยราคาประหยัด, จ้างทำวิทยานิพนธ์ pantip, สอนทำวิจัย, จ้างทําวิจัย pantip
Facebook : www.facebook.com/consultantthesis/
Website : www.thesissure.com
82
สารส้ม, สารส้มใส, สารส้มขุ่น, สารส้มผง, สารส้มก้อน
Line ID: thaipoly8888
www.thaipolychemicals.com
83
ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้, ระบบเรียกพยาบาล, ปุ่มกดฉุกเฉินในห้องน้ำคนพิการ, อุปกรณ์ตรวจจับควัน
www.alarmthailand.com
84
อสังหา / Re: แฟรนไชส์ ไส้กรอก ไส้อั่ว นายฮั่ง ฟรี!
« กระทู้ล่าสุด โดย Ayakimez เมื่อ 12 กันยายน 2024, 08:40:10 am »
นายฮั่ง, เชฟฮั่ง, ไส้อั่ว, ไส้กรอก, แฟรนไชส์ฟรี
www.naihung.com
85
ร้านเคพีเอส ไทยสไตล์ KPSTHAISTYLE ผู้เชี่ยวชาญด้านตู้ใส่พระ[บูชา และงานเฟอร์นิเจอร์คุณภาพสูง
หากคุณกำลังมองหาตู้ใส่พระบูชาที่มีคุณภาพสูงและคงทนต่อการใช้งาน พร้อมทั้งมีราคาที่ย่อมเยา เราคือคำตอบที่คุณตามหา
เราเป็นผู้ผลิตและจำหน่าย ตู้กระจก ตู้ไม้ ตู้อะคริลิค ฐานรองพระ และงานเฟอร์นิเจอร์ตามขนาดที่ลูกค้าต้องการ
โดยเราให้บริการครอบคลุมทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนด้วยใบเสนอราคามาตรฐานที่น่าเชื่อถือ



KPSTHAISTYLE เคพีเอส ไทยสไตล์
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือต้องการสั่งทำตู้ครอบพระในแบบที่คุณต้องการ

เพจ : www.facebook.com/kpsthaistylecabinet

Website : WWW.KPSTHAISTYLE.COM

Website : www.ตู้ครอบพระ-ฐานรองพระ.com

Line ID : @KPSTHAISTYLE




แผนที่ร้าน : https://goo.gl/maps/XZnnpT5vUk3y6B7y8





ติดตามโปรโมชั่น ข่าวสาร สินค้าลดล้างสต๊อก ตู้กระจกแบบใหม่ๆได้ที่ เพจfacebook เว็บไซต์และทางLine
รับผลิตและจัดจำหน่ายตู้กระจก ครอบพระ กล่องอะคริลิค ฐานพระ สอบถามได้นะคะ

KPSTHAISTYLE
ขอบพระคุณลูกค้าที่ไว้วางใจเสมอมา




86
อสังหา / Re: dedicated hosting Cloud VPS Server ฟรีSSL CloudHosting ราคาถูก Email Hosting ไม่ล่ม ✔✔
« กระทู้ล่าสุด โดย ringtanut เมื่อ 11 กันยายน 2024, 19:22:16 pm »
ทำไมใครต่อใครถึง เลือกโฮสเซเว่นพลัส

24X7 SUPPORT
ทีมงานที่มีความเชียวชาญทางด้าน Web Hosting ที่คอยช่วยเหลือในกรณีที่ลูกค้ามีปัญหาตลอด 24 ชั่วโมง.

ประสบการณ์ยาวนาน
เราเป็นผู้ให้บริการที่ทำงานด้าน Hosting มาตั้งแต่ปี 2009 กว่า 10 ปีในสายงานนี้ทำให้เราพร้อมที่จะให้บริการอย่างมืออาชีพ.

มีความปลอยภัยสูง
เราได้ติดตั้ง ConfigServer Security & Firewall และระบบตรวจจับการบุกรุกทางเครือข่ายฟรี.

รับประกันความพึงพอใจ
เรากล้ารับประกันความพึงพอใจยินดีคืนเงินเต็มจำนวนโดยไม่ต้องแจ้งเหตุผลในการขอคืนภายใน 30 วัน


CloudHosting ราคาถูก ฟรีSSL CloudVPS เสถียร ไม่ล่ม

เครื่องแรง แพกเกจโดนใจ ซัพพอร์ตไว เชื่อถือได้ ราคาเกินคุ้ม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

Line ID : @hostsevenplus




www.hostsevenplus.com



87
อสังหา / Re: #ขออนุญาติแนะนำ หอพักราคาถูก ใกล้ราชภัฎนครปฐม
« กระทู้ล่าสุด โดย somchaizs เมื่อ 11 กันยายน 2024, 19:05:50 pm »


หอพัก วิวรรณ
หอพักราคาถูกใกล้ราชภัฎนครปฐม


ใกล้ราชภัฎนครปฐม เดินทางสะดวกปลอยภัย
เจ้าของหอดูแลเองและเป็นกันเอง ราคาไม่แพง พร้อมเฟอร์นิเจอร์แอร์ครบวงจร

ติดต่อสอบถาม 081-9413429 , 083-6932426

www.facebook.com/hopakviwan

www.viwanhopak.com



88
อสังหา / หมอออนไลน์: หลอดเลือดแดงขาตีบ (Peripheral artery disease/PAD)
« กระทู้ล่าสุด โดย siritidaphon เมื่อ 11 กันยายน 2024, 19:00:00 pm »
หมอออนไลน์: หลอดเลือดแดงขาตีบ (Peripheral artery disease/PAD)

หลอดเลือดแดงขาตีบ (Peripheral artery disease/PAD)* ส่วนใหญ่เกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis)

โรคนี้ส่วนใหญ่จะเริ่มพบได้ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี และยิ่งมีอายุมากขึ้นก็ยิ่งพบได้บ่อยขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวาน หรือผู้ที่สูบบุหรี่ มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคนี้

นอกจากนั้นอาจพบในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง เช่น ความดันโลหิตสูง ภาวะอ้วน

มักพบร่วมกับโรคที่เกี่ยวข้องกับภาวะหลอดเลือดแดงตีบอื่น ๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมอง ไตวายเรื้อรัง ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย (องคชาตไม่แข็งตัว) เป็นต้น

*Peripheral artery disease/Peripheral arterial disease/PAD ซึ่งแปลว่า หลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบนั้น หมายถึง หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงแขนหรือขาเกิดการตีบแคบลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงแขนหรือขาไม่ได้
ภาวะนี้มักเกิดที่หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงขา เรียกว่า "หลอดเลือดแดงขาตีบ"
ในบทนี้จึงขอกล่าวถึงเฉพาะเรื่อง "หลอดเลือดแดงขาตีบ"

สาเหตุ

ส่วนใหญ่เกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงแข็งจากการมีตะกรันไขมันเกาะที่ภายในผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบลง เลือดไปเลี้ยงขาและปลายเท้าได้น้อยลง

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงขาแข็งและตีบที่สำคัญ ได้แก่ เบาหวาน การสูบบุหรี่ นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากปัจจัยอื่น ได้แก่ อายุ (มากกว่า 50 ปี) ความดันเลือดสูง ไขมันในเลือดสูงหรือผิดปกติ ภาวะอ้วน (ดัชนีมวลกายมากกว่า 30 กก./ตร.ม.) ภาวะโฮโมซีสตีนในเลือดสูง (hyperhomocysteinemia) โรคไตเรื้อรัง มีพ่อแม่หรือพี่น้องเป็นโรคหลอดเลือดแดงขาตีบ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน หรือโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน (อัมพฤกษ์ อัมพาต)

โรคนี้ส่วนน้อยอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น การฉายรังสี การบาดเจ็บที่ขา การอักเสบของหลอดเลือดแดงขา (ซึ่งอาจพบเป็นภาวะแทรกซ้อนของ โรคหลอดเลือดแดงขมับอักเสบ) เป็นต้น

นอกจากนี้ อาจเกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นที่ขา เช่น กลุ่มอาการหลอดเลือดแดงขาพับถูกกดทับ (popliteal entrapment syndrome) ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นกดทับถูกหลอดเลือดแดงที่บริเวณขาพับ ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้ค่อนข้างน้อย และพบได้ในคนอายุน้อยหรือวัยหนุ่มสาว

อาการ

ผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดแดงขาตีบในระยะแรกอาจไม่มีอาการ ซึ่งตรวจพบได้จากการตรวจเช็กสุขภาพจากแพทย์

ผู้ป่วยจะแสดงอาการเมื่อมีการตีบของหลอดเลือด เกินร้อยละ 50

อาการเริ่มแรกที่พบบ่อย คือ ขาข้างที่ผิดปกติมีอาการปวดเวลาเดินไปได้สักพักหนึ่ง หรือเวลาเดินขึ้นบันได มักมีอาการปวดหน่วง ๆ ที่น่อง บางคนอาจปวดที่ต้นขาหรือสะโพกร่วมด้วย (ซึ่งขึ้นกับตำแหน่งที่ตีบตันของหลอดเลือด) อาการอาจเกิดที่ขาเพียงข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างก็ได้

อาการปวดจะทุเลาได้เองเมื่อผู้ป่วยหยุดพักการเดินสัก 2-3 นาที แต่เมื่อเดินต่อสักพักก็จะกำเริบอีก หากยังฝืนเดินต่อไปเรื่อย ๆ ก็จะปวดมากขึ้น จนอาจเดินขาลาก ทำให้ผู้ป่วยจำเป็นต้องหยุดเดิน

ทั้งนี้เนื่องจากการเดิน กล้ามเนื้อขาต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้นจากขณะพัก (ไม่ได้เดิน) แต่เพราะหลอดเลือดแดงขาตีบ เลือดจึงไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อขาได้พอกับความต้องการ เราเรียกอาการปวดขาในลักษณะนี้ว่า "อาการปวดขาเป็นระยะเพราะขาดเลือด (intermittent claudication)"

บางคนอาจไม่มีอาการปวดขาเป็นระยะดังกล่าว แต่อาจมีเพียงอาการหนักขา ขาไม่มีแรงหรือขาอ่อน ทำให้คิดว่าเป็นเพียงอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการเดิน หรือจากอายุที่มากขึ้น

บางรายอาจมีอาการเป็นตะคริวที่น่องบ่อย ซึ่งอาจเกิดขึ้นแม้แต่ในช่วงเข้านอนตอนกลางคืน

เมื่อหลอดเลือดแดงขาตีบมากขึ้น ก็จะมีอาการปวดขามากขึ้น เดินได้ระยะสั้นกว่าเดิมก็จะมีอาการปวด ทำให้ผู้ป่วยเดินได้ช้าลง หรือเดินไกลไม่ได้ มีผลทำให้ดำเนินชีวิตได้ไม่ปกติ หรือเล่นกีฬาที่ต้องเดินไม่ได้

หากปล่อยไว้จนมีการตีบของหลอดเลือดที่รุนแรง ก็จะมีอาการปวดขา แม้อยู่เฉย ๆ หรือเวลานอนราบหรือยกเท้าสูง อาจเป็นมากถึงขั้นนอนไม่หลับ

นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการอื่น ๆ ตามมา ได้แก่ ขาข้างที่เป็นมีอาการชาหรืออ่อนแรง ซีดกว่าปกติ หรือมีสีผิวเปลี่ยนไป คลำดูขาข้างที่เป็นรู้สึกเย็นกว่าปกติ ผิวหนังที่บริเวณขาดูมันวาวกว่าปกติ ขนและเล็บงอกช้ากว่าขาข้างที่ปกติ เกิดแผลที่ปลายเท้าเรื้อรังและหายยาก กล้ามเนื้อขาลีบลงกว่าปกติ ชีพจรที่ขาและเท้าของขาข้างที่เป็นคลำได้เบาหรือไม่ได้

ผู้ชายบางคนอาจมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย (องคชาตไม่แข็งตัว) ร่วมด้วย

ภาวะแทรกซ้อน

ที่พบบ่อยคือ การเป็นแผลเรื้อรังที่ขา อาจเกิดการติดเชื้อ และกลายเป็นเนื้อตายเน่า (gangrene) ซึ่งอาจจำเป็นต้องตัดนิ้วเท้าหรือข้อเท้า เกิดความพิการได้ มักพบในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ได้รักษาอย่างจริงจัง

ผู้ป่วยมักมีภาวะหลอดเลือดแดงตีบที่อวัยวะอื่นร่วมด้วย หากปล่อยไว้ก็อาจเกิดโรคอื่น ๆ ตามมา ที่สำคัญ ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (พบได้ประมาณร้อยละ 30-50 ของผู้ที่เป็นหลอดเลือดแดงขาตีบ) โรคหลอดเลือดสมอง (พบได้ประมาณร้อยละ 15-25 ของผู้ที่เป็นหลอดเลือดแดงขาตีบ) หลอดเลือดแดงไตตีบ (renal artery stenosis) ไตวายเรื้อรัง

ในรายที่มีการตีบของหลอดเลือดแดงขาที่รุนแรง อาจเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดแดงขาแทรกซ้อนอย่างเฉียบพลัน ทำให้ขาเกิดภาวะขาดเลือดอย่างรุนแรง เกิดภาวะที่เรียกว่า "Acute limb ischemia (ALI)" ขาข้างที่เป็นจะมีอาการปวด (ขณะพักอยู่เฉย ๆ) ซีด เย็น ชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง และชีพจรเบา ซึ่งถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล และมีความเสี่ยงต่อการเกิดความพิการจากการตัดขา หรือการเสียชีวิต

การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยเบื้องต้นจากอาการและสิ่งตรวจพบ ได้แก่ การคลำชีพจรที่เท้าพบว่าเบาหรือคลำไม่ได้ เท้าซีดและเย็นกว่าปกติ กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง กล้ามเนื้อขาลีบลงกว่าปกติ แผลเรื้อรังที่เท้า

แพทย์จะทำการวินิจฉัยให้แน่ชัดด้วยการตรวจพิเศษ เช่น ทำการทดสอบด้วยการวัดความดันโลหิตที่เท้าเทียบกับที่ต้นแขน ดังที่เรียกว่า "Ankle-Brachial Index (ABI) Test" ซึ่งมักพบว่าความดันโลหิตที่เท้ามีค่าต่ำกว่าที่ต้นแขน (ค่า ABI < 0.90) มีค่ายิ่งต่ำ แสดงว่าโรคยิ่งรุนแรง, การตรวจวัดการไหลเวียนเลือดในหลอดเลือดแดงขาด้วยอัลตราซาวนด์ (Doppler ultrasound), การถ่ายภาพหลอดเลือด (angiography) ด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, การตรวจเลือด (ดูระดับน้ำตาล ไขมัน) เป็นต้น

ในรายที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดแดงขาตีบ แพทย์จะทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติมเกี่ยวกับความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจและสมอง โรคไตเรื้อรัง เป็นต้น

การรักษาโดยแพทย์

แพทย์จะให้ยารักษาโรคที่เป็นสาเหตุ (เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง), ให้ยาต้านเกล็ดเลือด เช่น แอสไพริน, โคลพิโดเกรล (clopidogrel) ป้องกันไม่ให้เกล็ดเลือดจับเป็นลิ่มอุดตันหลอดเลือด, ให้ยาเพิ่มการไหลเวียนเลือดที่ไปเลี้ยงขา (เช่น cilostazol ลดอาการปวดขาเป็นระยะเพราะขาดเลือด ช่วยให้เดินได้ระยะไกลขึ้น) เป็นต้น

นอกจากนี้แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยปรับพฤติกรรม เช่น งดบุหรี่, ลดอาหารหวาน มัน เค็ม, ลดน้ำหนัก, ผ่อนคลายความเครียด, ออกกำลังกาย

แพทย์อาจแนะนำให้ออกกำลังด้วยการเดินวันละ 30-45 นาที สัปดาห์ละ 4-5 วัน เดินด้วยความเร็วตามปกติ เมื่อสังเกตว่าเริ่มมีอาการปวดขาให้หยุดเดิน เมื่อรู้สึกทุเลาปวดให้เดินต่อ เดิน ๆ หยุด ๆ สลับกันจนครบ 30-45 นาที การเดินช่วยให้เลือดนำออกซิเจนไปเลี้ยงขาได้มากขึ้น ทำให้เดินได้ไกลขึ้น

หากการรักษาข้างต้นไม่ได้ผล แพทย์อาจทำการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การผ่าตัดบายพาส (โดยใช้หลอดดำของผู้ป่วยเอง หรือหลอดเลือดเทียม), การทำบัลลูนและใส่หลอดเลือดตาข่าย (stent) ค้ำยันภายในหลอดเลือด, การฉีดยาละลายลิ่มเลือดเข้าไปในหลอดเลือดตรงจุดที่มีลิ่มเลือดอุดตัน

ผลการรักษา หากได้รับการวินิจฉัยและการรักษาตั้งแต่ระยะแรก ก่อนมีอาการแสดง และไม่มีโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองร่วมด้วยอย่างต่อเนื่อง มักได้ผลดี

แต่ถ้าได้รับการรักษาในระยะที่มีอาการ ผลการรักษาขึ้นกับสภาพของผู้ป่วย ในรายที่มีหลอดเลือดหัวใจหรือสมองตีบร่วมด้วย ก็อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดความพิการหรือการเสียชีวิตจากโรคเหล่านี้

การดูแลตนเอง

หากสงสัย เช่น มีอาการปวดขาเวลาเดินหรือขึ้นบันได เป็นตะคริวที่น่องบ่อย ปวดขาตอนนอนราบหรือตอนกลางคืน ขามีลักษณะซีด เย็น กล้ามเนื้อขาลีบหรืออ่อนแรง หรือคลำชีพจรที่เท้ามีลักษณะเบาหรือคลำไม่ได้ มีแผลเรื้อรังที่ขา เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

นอกจากนี้ เนื่องจากผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดแดงขาตีบในระยะแรกมักจะไม่มีอาการแสดงใด ๆ ดังนั้น ผู้ที่สบายดี ไม่มีอาการปวดขาและอาการอื่นใด ก็ควรไปปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจกรองโรคนี้ ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้

    มีอายุมากกว่า 65 ปี
    มีอายุมากกว่า 50 ปี ซึ่งป่วยเป็นเบาหวาน หรือสูบบุหรี่
    มีอายุน้อยกว่า 50  ปี ซึ่งป่วยเป็นเบาหวาน และมีปัจจัยเสี่ยงอื่นร่วมด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง อ้วน เป็นต้น

เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคหลอดเลือดแดงขาตีบ ควรดูแลรักษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ และติดตามการรักษากับแพทย์ตามนัด

ข้อปฏิบัติตัว ที่สำคัญ ได้แก่ 

    งดบุหรี่
    ลดอาหารหวาน มัน เค็ม กินผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่ว เต้าหู้ ปลาให้มาก ๆ
    ลดน้ำหนัก ถ้าน้ำหนักเกิน
    ผ่อนคลายความเครียด
    ออกกำลังกาย ด้วยการเดินให้มาก ๆ ตามวิธีที่แพทย์แนะนำ วันละ 30-45 นาที สัปดาห์ละ 4-5 วัน (อ่านเพิ่มเติมที่หัวข้อ "การรักษา" ด้านบน)
    หมั่นดูแลเท้าไม่ไห้เกิดแผล (เช่น ระมัดระวังในการตัดเล็บ สวมใส่รองเท้าที่พอดีกับเท้า ระวังไม่ให้ถูกของมีคมบาด) เพราะหายยากเนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง
    หลีกเลียงการซื้อยามาใช้เอง เนื่องเพราะยาบางชนิด เช่น กลุ่มสูโดเอฟีดรีน (pseudoephedrine) ซึ่งนิยมใช้รักษาโรคหวัด คัดจมูก โรคภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ อาจทำให้หลอดเลือดตีบมากขึ้น ปวดขามากขึ้นได้


ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    มีอาการปวดขามากขึ้น
    ขามีลักษณะซีด เย็น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชา หรือเป็นแผลเรื้อรัง
    มีอาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น เวียนศีรษะ หน้ามืด หรือแขนขาซีกหนึ่งมีอาการชาหรืออ่อนแรง
    ขาดยาหรือยาหาย
    สงสัยเกิดผลข้างเคียงจากยาที่แพทย์ให้กิน เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ใจสั่น ท้องเดิน เป็นต้น
    มีความวิตกกังวล

การป้องกัน

    ไม่สูบบุหรี่
    รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
    หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
    ลดอาหารมัน หวาน เค็ม กินผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่ว เต้าหู้ ปลาให้มาก ๆ
    ถ้าเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือไขมันในเลือดสูง ควรดูแลรักษาให้สามารถควบคุมโรคได้ดีอย่างต่อเนื่อง

ข้อแนะนำ

1. ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดแดงขาตีบจะรู้สึกสบายดี ไม่มีอาการปวดขาและอาการผิดปกติอื่นใด จะมีอาการปวดขาเมื่อหลอดเลือดตีบมากแล้ว และอาจมีโรคหลอดเลือดหัวใจหรือสมองตีบแฝงอยู่ร่วมด้วย (โดยไม่มีอาการ) ดังนั้นผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและตีบ ถึงแม้สบายดีก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจกรองโรค และรับการรักษาแต่เนิ่น ๆ

2. โรคนี้มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการ (อ่านเพิ่มเติมที่หัวข้อ "สาเหตุ" ด้านบน) ที่สำคัญ ได้แก่ การเป็นโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ การสูบบุหรี่ การมีอายุมาก ยิ่งมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง เช่น ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี และป่วยเป็นโรคเบาหวาน ร่วมกับการสูบบุหรี่ หรือความดันโลหิตสูง หรือไขมันในเลือดสูง ก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากขึ้น ดังนั้น ควรป้องกันการเกิดโรคนี้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงให้มากที่สุด (อ่านเพิ่มเติมที่หัวข้อ "การป้องกัน" ด้านบน)

3. โรคนี้มีความรุนแรงค่อนข้างมาก เนื่องเพราะมักตรวจพบเมื่อผู้ป่วยมีอาการปวดขาแล้ว และขามักมีภาวะขาดเลือดเรื้อรังมานาน มักทำให้เกิดแผลเรื้อรัง ซึ่งนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน ถึงขั้นต้องตัดขา นอกจากนี้ อาจพบโรคหลอดเลือดหัวใจหรือสมองตีบร่วมด้วย ซึ่งเป็นสาเหตุของความพิการหรือการเสียชีวิตจากโรคเหล่านี้

4. ผู้ที่มีอาการปวดขาหรือเป็นตะคริวบ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ ผู้ที่สูบบุหรี่ ผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือไขมันในเลือดสูง อย่าชะล่าใจว่าเป็นเพียงอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือไม่เป็นอะไรมาก แต่ควรไปปรึกษาแพทย์เพี่อตรวจให้แน่ใจว่าเป็นโรคหลอดเลือดแดงขาตีบหรือไม่

89
โปรโมชั่นพิเศษสุดๆ สามารถเลือกคละกันได้ค่ะ

Fivita ขายดี__1 กล่อง 1200 บาท | 3 กล่อง 1100 บาท
Veniscy__1 กล่อง 1250 บาท | 3 กล่อง 1150 บาท
Complette Gen2__1 กล่อง 900 บาท | 3 กล่อง 800 บาท
Tationil Bayer__1 กล่อง 1100 บาท | 3 กล่อง 1000 บาท
New Collagen Forte คลอลาเจนที่ขายดีที่สุด__1 กล่อง 600 บาท | 3 กล่อง 500 บาท
Placenta Biocell__1 กล่อง 600 บาท | 3 กล่อง 500 บาท
Complette Gen3__1 กล่อง 1300 บาท | 3 กล่อง 1200 บาท
Derma Heal LL เมโสแฟตลดน้ำหนัก__1 กล่อง 2200 บาท | 3 กล่อง 2100 บาท
มาเด้ คลอลาเจน เมโสหน้าใส__10 คู่ ราคาพิเศษ 2300 บาท


โทรสอบถามหรือต่อรองราคาได้ค่ะ
แวะชมสินค้า
www.gluta2ushop.com

Line: @gluta2ushop (มี @ นะคะ)

หรือกด https://lin.ee/Y68AKO ได้เลยค่ะ





90
อสังหา / Doctor At Home: ภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง (Normal pressure hydrocephalus/NPH)
« กระทู้ล่าสุด โดย siritidaphon เมื่อ 11 กันยายน 2024, 17:18:47 pm »
Doctor At Home: ภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง (Normal pressure hydrocephalus/NPH)

ภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง (ภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำชนิดความดันปกติ ก็เรียก) เป็นโรคทางสมองชนิดหนึ่ง ที่ทำให้มีอาการผิดปกติเกี่ยวการเดินเป็นหลัก และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย


ภาวะน้ำเกินในโพรงสมองแบ่งเป็นชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุ กับชนิดทุติยภูมิ (มีสาเหตุ)

ภาวะน้ำเกินในโพรงสมองชนิดไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic normal pressure hydrocephalus/iNPH) มักพบในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และส่วนใหญ่จะพบในผู้ที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป* พบในผู้ชายและผู้หญิงพอ ๆ กัน ผู้ป่วยจะเริ่มปรากฏอาการเมื่ออายุ 70 ปีโดยเฉลี่ย สำหรับกลุ่มอายุน้อยกว่า 65 ปี จะพบได้น้อย* และโรคนี้พบได้ประมาณร้อยละ 6 ของผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมทั้งหมด

ภาวะน้ำเกินในโพรงสมองชนิดทุติยภูมิ (secondary normal pressure hydrocephalus) ซึ่งมีสาเหตุจากภาวะผิดปกติทางสมองอื่น ๆ พบได้ในคนทุกวัย

ภาวะน้ำเกินในโพรงสมองสามารถรักษาด้วยการผ่าตัดฝังสายระบายน้ำ จัดว่าเป็นโรคทางสมองในผู้สูงอายุชนิดหนึ่งที่สามารถรักษาให้หายได้

*มีรายงานว่าผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปเป็นโรคนี้ ร้อยละ 0.2-2.9 และมีรายงานว่าคนสวีเดนที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป พบโรคนี้ถึงร้อยละ 5.9 สำหรับผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 65 ปีพบโรคนี้เพียงร้อยละ 0.003


สาเหตุ

โพรงสมอง (ventricle) หมายถึงโพรงที่อยู่ภายในสมอง ภายในโพรงสมองจะมีน้ำไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) บรรจุอยู่ น้ำไขสันหลังทำหน้าที่หล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง (นำสารภูมิต้านทาน และสารสื่อประสาทไปให้ และนำของเสียไปขับออก) และช่วยดูดซับแรงกระเทือนจากภายนอกเพื่อปกป้องสมองและไขสันหลัง ปกติสมองสร้างน้ำไขสันหลัง ซึ่งจะไหลเวียนในโพรงสมองและไขสันหลัง และถูกดูดกลับเข้ากระแสเลือดในลักษณะที่สมดุลกัน ทำให้น้ำในโพรงสมองมีไม่มากหรือน้อยเกินไป  แต่หากมีสภาวะที่ทำการไหลเวียนหรือการดูดกลับของน้ำไขสันหลังผิดปกติ ก็จะทำให้น้ำในโพรงสมองเกิดการคั่งมากกว่าปกติ โดยที่ความดันในกะโหลกศีรษะยังเป็นปกติ จึงเรียกว่า “ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำชนิดความดันปกติ” แต่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า “ภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง”


น้ำที่คั่งในโพรงสมอง จะดันให้โพรงสมองมีขนาดใหญ่ขึ้น และเกิดแรงกดเบียดเนื้อสมองโดยรอบ ทำให้เกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ ซึ่งหากแก้ไขได้เร็ว อาการก็ทุเลาหายไปได้ แต่หากปล่อยให้เนื้อสมองถูกกดเบียดเป็นระยะเวลานาน เซลล์สมองก็จะถูกทำลายอย่างถาวร


ภาวะน้ำเกินในโพรงสมองในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เป็นภาวะน้ำเกินในโพรงสมองชนิดไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งจะตรวจไม่พบว่ามีภาวะหรือโรคอื่นใดที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคนี้ขึ้นมา สันนิษฐานว่าเกิดจากการเสื่อมของร่างกายตามวัย


ส่วนภาวะน้ำเกินในโพรงสมองชนิดทุติยภูมิ ผู้ป่วยมักมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เนื้องอกสมอง สมองอักเสบ หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือมีประวัติศีรษะได้รับบาดเจ็บหรือเคยได้รับการผ่าตัดสมองมาก่อน

อาการ

ผู้ป่วยมีอาการเดินผิดปกติเป็นหลัก อาจมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ สมองเสื่อม พูดน้อย เสียงแหบ หรือสำลักบ่อยร่วมด้วย โดยอาการเหล่านี้จะค่อย ๆ เป็นมากเรื่อย ๆ ในช่วงเวลา 6-12 เดือน หรือเป็นแรมปี


เริ่มแรกผู้ป่วยจะมีการเดินที่ผิดปกติ เช่น เดินช้า เดินซอยเท้า ก้าวขาสั้น ๆ ระยะต่อมาจะมีอาการเดินยกเท้าไม่พ้นจากพื้นเหมือนเท้ามีกาวทาติดไว้กับพื้น และเวลาเดินผู้ป่วยจะกางเท้าออก เพื่อรักษาสมดุลไม่ให้ล้ม เมื่อมีอาการมากขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการทรงตัวไม่ดี นั่งตัวเอน เดินเซ และล้มบ่อย (ซึ่งมักเป็นสาเหตุที่ทำให้นำตัวผู้ป่วยมาพบแพทย์) อาการจะแย่ลงเรื่อย ๆ จนในที่สุดอาจเดินไม่ได้


ต่อมา ผู้ป่วยจะมีอาการข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อดังต่อไปนี้ตามมา

    กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยได้ โดยเริ่มแรกจะมีอาการปัสสาวะบ่อย เวลารู้สึกปวดปัสสาวะจะต้องรีบไปเข้าห้องน้ำทันที หากไปไม่ทันก็จะมีปัสสาวะเล็ด เมื่อเป็นมากขึ้นผู้ป่วยจะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ มีอาการปัสสาวะราดโดยไม่รู้ตัว (ผู้ป่วยมักต้องใส่ผ้าอ้อมไว้)
    อาการสมองเสื่อม เช่น ญาติสังเกตเห็นผู้ป่วยมีอาการคิดช้า ทำอะไรช้าลงกว่าเดิมมาก ความจำแย่ลง หลงลืมบ่อย ขาดสมาธิ ตัดสินใจหรือตอบสนองช้า กลางวันมีอาการนั่งหลับ ง่วงซึม หรือนอนมาก บางรายอาจมีอาการสับสน อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า (ไม่ยิ้มแย้มแจ่มใส นั่งร้องไห้)
    อาการผิดปกติเกี่ยวการพูดและการกลืน ผู้ป่วยจะพูดน้อย เสียงเบาหรือเสียงแหบ กลืนลำบาก สำลักบ่อยเวลากินอาหารหรือดื่มน้ำ เวลานอนอาจสำลักน้ำลายตัวเอง (ตื่นขึ้นมาไอตอนกลางคืน)

ภาวะแทรกซ้อน

หากปล่อยไว้ หรือไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจมีภาวะแทรกซ้อน ดังนี้   

    กระดูกหักหรือศีรษะได้รับบาดเจ็บจากการหกล้ม ซึ่งอาจมีอันตรายร้ายแรงได้ เช่น กระดูกต้นขาหัก เลือดออกในสมอง เป็นต้น
    ปอดอักเสบจากการสำลัก
    สูญเสียคุณภาพชีวิตเนื่องจากการเดินไม่ได้ และ/หรือภาวะสมองเสื่อม
    อาจนอนติดเตียงและเกิดแผลกดทับ ซึ่งพบได้น้อย ภาวะนี้จะเกิดกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาจนมีอาการรุนแรง

การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยเบื้องต้นจากอาการ ประวัติการเจ็บป่วย และการตรวจร่างกาย ซึ่งมีสิ่งตรวจพบ ดังนี้

มักตรวจพบความผิดปกติเกี่ยวกับการเดินและการทรงตัว เช่น เดินช้า เดินซอยเท้า ก้าวสั้น ๆ ก้าวเท้าไม่พ้นจากพื้น เดินกางเท้าออก เดินเซ นั่งตัวเอน ยืนหรือเดินในท่าโน้มตัวไปข้างหน้า

อาจพบอาการอื่น เช่น ได้กลิ่นปัสสาวะที่ถ่ายราดติดกางเกงหรือผ้าอ้อม คิดช้า พูดช้า พูดน้อย ตอบคำถามช้า ทำอะไรชักช้างุ่มง่าม เสียงแหบ หน้าซึมเศร้า


แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัด ดังนี้

    ถ่ายภาพสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งจะพบว่าโพรงสมองของผู้ป่วยโรคนี้มีขนาดใหญ่ผิดปกติ
    ทำการเจาะหลัง (lumbar puncture) นอกจากทำการวัดความดันของน้ำไขสันหลัง (ซึ่งพบว่ามีค่าปกติ) แล้ว แพทย์จะทำการทดลองระบายน้ำไขสันหลัง (tap test) ซึ่งช่วยสนับสนุนการวินิจฉัยและการวางแผนการรักษา โดยระบายน้ำออกมา 40-60 มิลลิลิตร ถ้าหลังการระบายน้ำ พบว่าผู้ป่วยเดินได้ดีขึ้นชั่วคราว แสดงว่าผู้ป่วยเป็นโรคนี้ และจะได้ประโยชน์มากจากการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังตัวระบายน้ำ


การรักษาโดยแพทย์

สำหรับโรคน้ำเกินในสมอง แพทย์จะทำการผ่าตัดฝังสายระบายน้ำ (shunt) ไว้ใต้ผิวหนัง โดยจะฝังสายระบายน้ำจากโพรงสมองเข้าสู่ช่องท้อง หรือจากช่องไขสันหลัง (บริเวณหลังส่วนล่าง) เข้าสู่ช่องท้อง (ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเลือกให้เหมาะกับสภาพของผู้ป่วยแต่ละราย) แล้วน้ำที่ระบายออกมาในช่องท้องก็จะถูกดูดซึมออกไปโดยเยื่อบุช่องท้อง ทำให้ลดการคั่งของน้ำในโพรงสมองลงได้ อาการต่าง ๆ ก็จะทุเลาลงได้อย่างรวดเร็ว

หลังผ่าตัดแพทย์จะให้ผู้ป่วยพักรักษาที่โรงพยาบาล เพื่อสังเกตอาการและป้องกันหรือแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะอยู่โรงพยาบาลเพียงไม่กี่วัน ก็กลับไปพักฟื้นที่บ้านได้

หากพบว่าผู้ป่วยเป็นภาวะน้ำเกินในสมองชนิดทุติยภูมิ แพทย์จะทำการรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ (เช่นเนื้องอกสมอง โรคหลอดเลือดสมอง) ไปพร้อมกัน

นอกจากนี้ สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาการเดินมาเป็นเวลานาน มีกล้ามเนื้อขาลีบและอ่อนแรง แพทย์ก็จะทำการฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยด้วยการทำกายภาพบำบัด (ฝึกยืน ฝึกเดิน) ซึ่งกว่าจะฟื้นตัวได้ดีอาจใช้เวลาฝึกอยู่นานหลายเดือน


ผลการรักษา ส่วนใหญ่จะได้ผลดี อาการต่าง ๆ จะทุเลาลงได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดฝังสายระบายน้ำ เช่น หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสขึ้น ก้าวเดินได้ดีขึ้น สำลักน้อยลง พูดได้ดีขึ้น เสียงแหบน้อยลง กลั้นปัสสาวะได้ดีขึ้น แล้วต่อมาก็จะค่อย ๆ ฟื้นหายเป็นปกติได้


สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการสมองเสื่อมก่อนอาการเดินผิดปกติและกลั้นปัสสาวะไม่ได้ หรือมีอาการสมองเสื่อมที่รุนแรง หรือได้รับการรักษาล่าช้าไปจนเซลล์สมองถูกทำลายอย่างถาวร การรักษาจะไม่ได้ผลดี


การดูแลตนเอง

หากมีอาการเดินผิดปกติ (เดินช้า เดินซอยเท้า ก้าวสั้น ๆ เดินกางเท้าออก เดินเซ) ร่วมกับมีอาการหกล้มบ่อย ปัสสาวะราดบ่อย สำลักบ่อย เสียงแหบเรื้อรัง และ/หรือหลงลืมบ่อย เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์

ถ้าตรวจพบว่าเป็นภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง ควรรับการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังสายระบายน้ำ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ 


หลังได้รับการผ่าตัด และกลับมาพักฟื้นที่บ้าน ควรปฏิบัติตัว ดังนี้

    ดูแลบาดแผลผ่าตัดตามคำแนะนำของแพทย์ ระวังอย่าให้แผลติดเชื้อ
    หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมและการเคลื่อนไหวร่างกายที่อาจกระทบต่อการทำงานของสายระบายน้ำ
    ทำกายภาพบำบัดจนกว่าจะร่างกายแข็งแรง (ตามคำแนะนำของแพทย์และนักกายภาพบำบัด)
    กินอาหารที่มีประโยชน์ต่อการฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรง ได้แก่ อาหารจำพวกโปรตีน นม ไข่ ผัก ผลไม้
    นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีต่าง ๆ
    ติดตามรักษากับแพทย์ตามนัดทุกครั้ง

ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีอาการข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    แผลผ่าตัดมีอาการปวด บวม แดง ร้อน มีหนอง หรือน้ำเหลืองไหล
    มีอาการผิดปกติ เช่น ไข้สูง ปวดศีรษะมาก ปวดท้อง อาเจียน คอแข็ง (ก้มคอไม่ได้) ตาพร่ามัว กระสับกระส่าย ง่วงซึม ชักหรือหมดสติ เป็นต้น
    อาการของภาวะน้ำเกินในโพรงสมองซึ่งทุเลาลงหลังผ่าตัดกลับมากำเริบใหม่ หรือมีอาการผิดปกติที่ทำให้สงสัยว่าสายระบายน้ำทำงานไม่เป็นปกติ และไม่สามารถปรับได้เอง (แพทย์จะสอนผู้ป่วยและญาติให้รู้จักวิธีดูแลสายระบายน้ำ ถ้าลองดูแลเองที่บ้าน เกิดปัญหาและแก้ไขไม่ได้ ก็ควรรีบกลับไปพบแพทย์)
    หากแพทย์ให้ยามากินที่บ้าน หลังกินยามีอาการที่สงสัยว่าเป็นผลข้างเคียงจากยาหรือแพ้ยา

การป้องกัน

ส่วนใหญ่ยังไม่มีวิธีป้องกันที่ได้ผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับภาวะน้ำเกินในสมองชนิดไม่ทราบสาเหตุในผู้สูงอายุ 


สำหรับภาวะน้ำเกินในโพรงสมองชนิดทุติยภูมิ อาจลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคลงได้บ้าง โดยการควบคุมโรคบางชนิด อาทิ

    ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยการควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ (เช่น บุหรี่ ภาวะน้ำหนักเกิน) ที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง
    ป้องกันไม่ให้เป็นโรคสมองอักเสบและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (ดูการป้องกัน โรคสมองอักเสบ และ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เพิ่มเติม)
    ป้องกันไม่ให้ศีรษะได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุต่าง ๆ เช่น การหกล้ม อุบัติเหตุจราจร

ข้อแนะนำ

1. อาการต่าง ๆ ของผู้ที่เป็นภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง (เช่น เดินช้า เดินเซ ความจำไม่ดี ปัสสาวะราด สำลักบ่อย พูดน้อย พูดเสียงเบา) เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุโดยทั่วไป ทำให้ญาติเข้าใจว่าเป็นโรคคนแก่ และมักจะปล่อยให้ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง โดยจ้างคนมาดูแล หรือพาไปพักอยู่ในสถานดูแลผู้สูงอายุ ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง และในที่สุดเกิดความพิการอย่างถาวร ดังนั้น หากพบผู้สูงอายุมีอาการดังกล่าว ควรพาไปพบแพทย์ เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคนี้จริง การรักษาด้วยการผ่าตัดฝังสายระบายจะช่วยให้อาการดีขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้


2. ภาวะน้ำเกินในโพรงสมองมีอาการคล้ายโรคพาร์กินสัน (คืออาการเดินช้า เดินก้าวสั้น เดินซอยเท้า เดินขากาง บางรายอาจมีอาการแขนขาเกร็ง หรือมือสั่น) และอัลไซเมอร์ (ความจำเสื่อม คิดช้า ทำอะไรช้า) ซึ่งอาจทำให้ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาแบบโรคพาร์กินสันหรืออัลไซเมอร์ เป็นเหตุให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ได้รับการรักษาล่าช้าไป


ดังนั้น หากมีอาการที่สงสัยว่าเป็นโรคพาร์กินสัน หรืออัลไซเมอร์ ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจให้แน่ใจเสียก่อนว่าเป็นภาวะน้ำเกินในโพรงสมองหรือไม่ ถ้าพบว่าเป็นภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง จะได้รับการรักษาได้ทันการณ์ และช่วยให้หายได้


3. ผู้สูงอายุที่เป็นภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง อาจมีโรคเรื้อรังอื่นร่วมด้วย เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นต้น ควรทำการรักษาโรคเหล่านี้ควบคู่กันไป เพราะโรคเหล่านี้อาจทำให้ผู้ป่วยภาวะน้ำเกินในโพรงสมองเสียชีวิตไวกว่าเวลาอันควรได้


บางรายอาจมีอัลไซเมอร์หรือกลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมคล้ายพาร์กินสัน (เช่น การเคลื่อนไหวช้า แขนขาเกร็ง ทรงตัวไม่ได้ มือสั่น) ร่วมด้วย ทำให้มีความยุ่งยากซับซ้อนในการรักษา ซึ่งหลังการผ่าตัดฝังสายระบายน้ำ ก็ยังจำเป็นต้องใช้ยาควบคุมหรือบรรเทาอาการอย่างต่อเนื่อง


4. ผู้สูงอายุที่มีอาการล้มบ่อยจากการเดินผิดปกติ ปอดอักเสบบ่อยจากการสำลัก หรือมีอาการปัสสาวะบ่อยหรือปัสสาวะราด (ซึ่งคิดว่าเป็นต่อมลูกหมากโต) ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัดว่าเป็นภาวะน้ำเกินในโพรงสมองหรือไม่


5. ญาติผู้ป่วยควรเรียนรู้ให้เข้าใจถึงธรรมชาติ และแนวทางการรักษาของภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง ซึ่งเป็นโรคที่สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดฝังสายระบาย มีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่เข้าใจหรือมีความเชื่อผิด ๆ หรือมีความกลัวว่าจะได้รับอันตรายจากการผ่าตัด ไม่ยอมรับการรักษาด้วยการผ่าตัด ทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมากขึ้นจนเกิดความพิการอย่างถาวรและเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร


หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10
ลงประกาศฟรี โฆษณาฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถ สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทสินค้าฟรี เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google